วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

อนุทินที่ 8

ข้อสอบปลายภาคให้นักศึกษาทำลงในบล็อกของนักศึกษาทุกข้อทุกข้อ มี 10  ข้อ
1.       คำว่า จรรยาบรรณ จริยธรรม คุณธรรม ค่านิยม จารีตประเพณี  กฎหมาย ให้นักศึกษาให้คำนิยาม และสรุปว่าคำเหล่านี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ            จรรยาบรรณ คือ หลักความประพฤติปฏิบัติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพที่บุคคลในแต่ละวิชาชีพได้ประมวลขึ้นเป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นถึงจริยธรรมปลูกฝัง และเสริมสร้างให้สมาชิกมีจิตสำนึกบังเกิดขึ้นในตนเองเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร และมุ่งหวังให้สมาชิกได้ยึดถือ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสมาชิก และสาขาวิชาชีพของตน
จริยธรรม คือ คุณความดีที่ใช้เป็นข้อปฏิบัติในการประพฤติที่ดีที่ชอบ โดยมีพื้นฐานมาจากกฎหมายหรือศีล หรือจากประเพณีวัฒนธรรมของคนในแต่ละสังคม
คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี  จึงได้ชื่อว่า  เป็นผู้มีคุณธรรม
ค่านิยม หมายถึง แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมยึดถือเป็นเครื่องตัดสินใจและกำหนดการกระทำของตนเอง
จารีตประเพณี  คือ ระเบียบแบบแผนหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งแต่เดิมนั้นกฎหมายก็มีที่มาหรือได้รับแนวทางจากจารีตประเพณีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
 ** คำที่มีความเหมือนกัน คือ จริยธรรม และคุณธรรม  เป็นคำที่กล่าวถึง การปฎิบัติคุณงามความดี ซึ่งเป็นข้อปฎิบัติ และเห็นได้ชัดเจนจากการกระทำ จรรยาบรรณ ค่านิยม จารีตประเพณี เหมือนกันในด้านของความประพฤติที่ จนเกิดเป็นเรื่องธรมดา โดยถือเป็นกฎหรือข้อปฎิบัติ ถ้ามีใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นคนไม่ดี แต่ไม่มีการลงโทษ กฎหมาย เป็นบอกถึงกฎเกณฑ์ ที่จะต้องปฏิบัติตาม และต้องรับรู้ หากฝ่าฝืน ไม่ปฎิบัติตาม จะต้องได้รับบทลงโทษ
2.       ในสังคมทุกวันนี้ กฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทต่อมนุษย์อย่างไร หากไม่มีจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีกฎหมายจริงหรือที่ว่าสามารถใช้บังคับได้ สังคมทุกวันนี้สงบตามที่นักกฎหมายได้บัญญัติขึ้น จงให้เหตุผลยกตัวอย่าง 
ตอบ            ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
Ø กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
Ø กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
Ø กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม
Ø กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ
3.       พระราชบัญญัติการการศึกษา มีหลักในการจัดการศึกษาและแนวการจัดการศึกษาทำได้อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ            พระราชบัญญัติการศึกษา ในหมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา  จะกล่าวถึงหลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน (มาตรา 22)  ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและสาระเนื้อหาของหลักสูตร (มาตรา 23 และ 27)  กระบวนการจัดการ (มาตรา 24) และการประเมินผล (มาตรา 25)  องค์กรที่จัดทำหลักสูตร (มาตรา 26) และเงื่อนไขของความสำเร็จอื่นๆ
          มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
          มาตรา 22 ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้  และการตีความ  นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียนและการสอนของครูมาตรา 22  จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด"
          มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
          (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
          (3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
          (4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
          (5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
          มาตรา 23 กล่าวถึงเนื้อหาสาระหรือทิศทางของเนื้อหาสาระของหลักสูตรโดยทั่วไปแต่อาจจะเน้นมาทางหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานมากหน่อย  โดยเฉพาะการแบ่งกลุ่มการเรียนรู้เป็น 5 กลุ่ม ตามวรรคหนึ่งถึงวรรคห้าของมาตรา 23
          ในข้อเท็จจริง การกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรจะต้องพิจารณาระดับการศึกษา ประเภทของการศึกษา และความถนัดส่วนบุคคลมาประกอบด้วย การศึกษาระดับที่สูงขึ้นไปย่อมจัดหลักสูตรที่เน้นสาขาวิชาและสาขาวิชาเฉพาะมากยิ่งขึ้น  แต่ถ้าเป็นหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานก็ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า หลักสูตรแกนกลางที่เน้นตัวร่วมหรือค่านิยมร่วม (Core Values)  ระดับชาติ และจะต้องมีหลักสูตรที่สะท้อนปัญหา และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นด้วย
          มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
          (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
          (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
          (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
          (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
          (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
          (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
          มาตรา 24 กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องดำเนินการแนวทาง 6 ประการ หรือเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์และลักษณะของวิชา
          มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
          มาตรานี้จะช่วยส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต  ซึ่งรวมความถึงการศึกษาต่อเนื่องในความหมายเดิมของระบบการศึกษานอกโรงเรียน ฉะนั้น การจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ (ต่อเนื่อง) จึงกระทำได้ในชุมชนต่างๆ
          มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
          ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
          มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
          ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
          มาตรา 27 กำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำหลักสูตรไว้เป็น 2 ระดับ  ระดับชาติให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลาง  ส่วนระดับท้องถิ่นให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระหลักสูตรที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
          การจัดทำหลักสูตรของสองส่วนนี้  เป็นการเสริมซึ่งกันและกัน  การสอนหลักวิชาตามหลักสูตรแกนกลางนั้นสามารถนำเอาเนื้อหาสาระของท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบได้เสมอ  ไม่ว่าจะเป็น วิชาประวัติศาสตร์ ที่มุ่งหมายให้นักเรียนเข้าใจประวัติความเป็นมาของชุมชนของตนเอง และของชาติ  หรือการสอนวิชาชีพก็จะสามารถนำข้อมูลอาชีพในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบของการเรียนการสอน
          จุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง "เพื่อความเป็นไทย" นั้น ก็หมายถึงความเป็นไทยในลักษณะที่มีเอกลักษณ์จากชาติอื่น  ฉะนั้น ความเป็นไทยในความหมายนี้รวมถึงวัฒธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกๆ แห่งที่ปรากฎในอาณาจักรไทยปัจจุบัน
          มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
          สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
          สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษระในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ  วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
          มาตรา 28 กล่าวถึงหลักสูตรระดับต่างๆ ต้องมีลักษณะหลากหลายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีความสมดุลตามวรรคสอง และหลักสูตรอุดมศึกษา ต้องมีลักษณะตามวรรคสาม
          มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จัดเลือกสรรภูมิปัญหาและความต้องการรวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
          มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
4. ในฐานะที่นักศึกษาทุกคนทราบว่าประเทศไทยขณะนี้อยู่ในช่วงปฏิวัติ นักศึกษาคิดว่าประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจาก     สาเหตุอย่างไร วิธีการที่คณะรัฐบาลทหารแก้ไขอยู่นี้น่าจะดีหรือไม่ดีจงให้เหตุผลและอธิบาย
ตอบ            สาเหตุของการรัฐประหารการรัฐประหารครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หากวิเคราะห์จากสภาพการณ์อาจมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ
Ø ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ในหมู่ประชาชน โดยรัฐบาลระบอบทักษิณได้ปลุกระดมให้ประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลเผชิญหน้ากับกลุ่มประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล ทำให้ประชาชนที่มาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลด้วยความสงบถูกกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลใช้อาวุธสงครามเช่นระเบิดเอ็ม 79 ทำร้ายเสียชีวิตถึง 23 คน และได้รับบาดเจ็บเกือบ 800 คน รวมทั้งมีผู้ที่พิการอีกด้วย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ทหารยังตรวจพบว่าฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลได้จัดเตรียมอาวุธร้ายแรงจำนวนมากเพื่อใช้ก่อความไม่สงบในการเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมที่ต่อต้านรัฐบาลด้วยสันติวิธี หากปล่อยไว้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชาติอย่างใหญ่หลวง
Ø ชาวนาได้รับความเดือดร้อนจากการขายข้าวให้รัฐบาลแต่ไม่ได้รับเงินมาเป็นเวลานานเป็นเหตุให้ชาวนาต้องฆ่าตัวตายถึงสิบกว่าคน และรัฐบาลก็รู้ดีว่าการอยู่ต่อไปของรัฐบาลจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชาวนาได้เพราะรัฐบาลรักษาการณ์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะกู้เงินมาจ่ายให้ชาวนาได้ แต่รัฐบาลมิได้สนใจความเดือดร้อนของชาวนาแต่อย่างใด คงมุ่งที่จะรักษาอำนาจของรัฐบาลไว้ให้มั่นคงเท่านั้น ซึ่งผิดวิสัยของรัฐบาลที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชน
Ø การทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล และนักการเมือง โดยเฉพาะจากโครงการรับจำนำข้าวที่ปปช.ได้ชี้มูลความผิดของน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายที่กระทรวงการคลังแถลงไว้มากกว่าห้าแสนล้านบาท ไม่รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตลาดการค้าข้าวของไทยที่จะได้รับผลกระทบไปอีกหลายปี ถ้ารัฐบาลระบอบทักษิณมีอำนาจต่อไปก็จะใช้อำนาจปกปิดความผิดและกระทำการทุจริตต่อไป ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น
Ø จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินทั้งๆที่ลังเลอยู่นาน เพราะรู้ดีว่าจะถูกต่อต้านจากทั้งฝ่ายระบอบทักษิณและพวกตะวันตก ซึ่งเป็นผลดีกับประชาชนชาวไทย
Ø ส่วนฝ่ายมวลมหาประชาชนที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลมายาวนานกว่าหกเดือนนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะพอใจเพราะเห็นว่าการต่อสู้ด้วยความสงบกับรัฐบาลทรราชย์นั้นยากที่จะได้รับชัยชนะ แต่อีกส่วนหนึ่งอาจรู้สึกเสียใจเพราะไม่ต้องการให้ทหารเข้ามาปฏิวัติแต่ต้องการให้ทหารสนับสนุนการปฏิวัติของประชาชนซึ่งจะเป็นปรากฎการณ์ใหม่ของประเทศที่ประชาชนจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงประเทศด้วยมือของตนเอง รวมทั้งไม่แน่ใจว่าทหารจะทำการปฏิรูปประเทศตามเป้าหมายของมวลมหาประชาชนหรือไม่ เท่าที่ผมรับฟังมามวลมหาประชาชนส่วนนี้มีมากเหมือนกัน


5.ความเคลื่อนไหวทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศมีการปฏิรูปขึ้น หากหน่วยงานทางการศึกษา เช่นเขตพื้นที่ประถมศึกษา เขตพื้นที่มัธยมศึกษา มีการยุบ และได้มีการนำสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่จังหวัดในรูปแบบองค์คณะบุคคลเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ      เห็นด้วย เพราะ เป็นการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึงสามารถดูแลระบบการศึกษาได้ เป็นการป้องกันการทุจริตเช่นในด้านของงบประมาณต่างๆของทางราชการ  การบริหารงานอื่นๆเป็นต้นแต่อาจมีช่องโหว่เช่นการบริหารงานที่อาจจะไม่ทั่วถึงเพราะศูนย์กลางของแต่ละจังหวัดมีเพียงแค่ที่เดียว
6.ในฐานะที่นักศึกษาจะลงไปฝึกสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชากฎหมายนี้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรจงยกตัวอย่างที่นักศึกษาคิดว่านำไปปฏิบัติกับตัวนักศึกษาและนักเรียนได้ ยกตัวอย่างอธิบายพร้อมเหตุผลทำไมจึงทำเช่นนั้น
ตอบ        ในการทำงานของสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยกฎหมายในการทำงาน ทั้งในเรื่อง การดูแลเด็กนักเรียน การทำงานร่วมกับครู การวางตัวกับเด็ก ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
Ø พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
Ø พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
Ø พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
Ø พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎกระทรวง
Ø พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
Ø ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณของวิชาชีพ และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
Ø พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม
Ø ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู: วินัยและการรักษาวินัย, คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม, มาตรฐานวิชาชีพ, จรรยาบรรณวิชาชีพ, และสมรรถนะวิชาชีพ
Ø กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พึงทราบ เช่น
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเวลาทางานและวันหยุดราชกสนของสถานศึกษา พ.ศ.2547
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้กำกับการสอบ พ.ศ.2548
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ.2548
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
-          ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
Ø ทฤษฎีและรูปแบบระบบการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา การออกแบบและการวางแผน การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา การนาแผนไปสู่การปฏิบัติ
Ø ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา และบทสรุปการนาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้
7. คำว่าการประกันคุณภาพมีความหมายอย่างไร มีหลักการประกันอย่างไร ถ้าหน่วยงานของต้นสังกัดลงมือทำเองเรียกว่าอะไรเข้ามีวิธีการทำอย่างไร หากนอกสังกัดเขาลงมือทำเขาเรียนว่าอะไร มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร (ให้ตอบเฉพาะของการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
ตอบ      การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดาเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
         หลักการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่
Ø การสร้างความมั่นใจและสร้างความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษา
Ø การป้องกันปัญหา ต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
Ø การตั้งมั่นบนหลักวิชาในการพัฒนาหลักวิชาชีพ
Ø การดำเนินงานสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินตนเองได้
Ø การดำเนินงานเน้นคุณภาพในการปฏิบัติงานทุกระดับทุกขั้นตอน
Ø การสร้างความรู้ ทักษะและความมั่นใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
Ø การประสานสัมพันธ์ในองค์กร บุคลากรในพื้นที่
Ø การเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหาร
        "การประกันคุณภาพภายใน" เป็นการตรวจสอบ การควบคุม การติดตาม ประเมินผลคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถาบันการศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงาน ต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้น ผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายใน คือ มีการวางระบบงานที่มีระบบและกลไกชัดเจน มีการดำเนินงานรวมทั้งมีการพัฒนาฐานข้อมูลในด้านต่างๆ
        "การประเมินคุณภาพภายนอก" จะใช้ตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานต่างๆ ในการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา รวมทั้งการตรวจเยี่ยมสถาบัน ซึ่งในการประเมินต้องคำนึงถึงปรัชญา พันธกิจ และลักษณะการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาจะต้องมีการจัดทำรายงานประจำปี เตรียมเอกสาร ข้อมูลในด้านต่างๆ รวมถึงข้อมูลตามตัวบ่งชี้ และรายงานการประเมินตนเองอย่างน้อย ๓ ปีการศึกษา โดยสามารถจัดทำในรูปแบบ CD – ROM หรือ E - SAR (Electronic Self Assessment Report) เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ.
8.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูมืออาชีพท่านจะต้องนำวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ตั้งแต่เรื่องการจัดการเรียนการสอน ชุมชน การดูแลนักเรียน ขอให้ตอบโดยนำหลักคิดมาประยุกต์ใช้
ตอบ     
Ø การจัดการเรียนการสอน สอนโดยสอนแทรกความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวันให้นักเรียนทราบว่าการกระทำความผิดมีบทลงโทษอย่างไรและสอนให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ผิดกฎหมายทุกอย่าง
Ø การนำความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพไปบอกต่อเพื่อไม่ให้คนในชุมชนนั้นได้รู้ถึงกฎหมายของบ้านเมืองและโทษของการทำความผิดและตักเตือนคนที่คิดจะทำความผิด
Ø การดูแลนักเรียน การกระทำที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมในสิ่งที่ดี และว่ากล่าวตักเตือนในสิ่งที่ไม่ดี แนะนำการปฏิบัติตนตามกฎหมายบ้านเมืองเพื่อที่จะได้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
9. วิชานี้ท่านคิดว่าเรียนไปแล้วมีประโยชน์หรือไม่ ถ้านักศึกษาไม่ได้เรียนก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูน่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างโปรดยกตัวอย่างประกอบการอธิบายและเมื่อได้เรียนแล้วจะได้ระมัดระวังอย่างไร
ตอบ         วิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นวิชาที่มีความสำคัญมากกับนักศึกษาวิชาชีพครู เพราะ ถ้าไม่เรียน เราก็อาจจะไม่ให้ความสำคัญกับมันเลย และไม่ทราบถึงรายละเอียด ข้อห้าม หรือกฎบังคับ เกี่ยวกับ การศึกษา ทำให้ต้องยึดหลักในการปฏิบัติ และให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
10. การสอนแบบใช้เทคโนโลยีเว็ปบล็อกผสมผสานกับรายงานของนักศึกษา นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์หรือไม่อย่างไรจงแสดงความคิดเห็นตามแนวคิดของนักศึกษา

ตอบ         เว็บบล็อกเป็นเทคโนโลยีที่นิยมสำหรับการจัดการความรู้เพราะเป็นการจัดการความรู้ที่ต้องการเครื่องมือสำหรับการบันทึกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณสมบัติของเว็บบล็อกที่เป็นเครื่องมือที่สอดคล้องในการปฏิบัติตามกระบวนการการจัดการความรู้ ก็ต้องเลือกประเภทที่เหมาะสมและนำไปใช้ได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ แต่ไม่ว่า เป็นเทคโนโลยีที่ดีอย่างไร ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าผู้ชายแต่มีหัวใจของการจัดการความรู้หรือความสนใจใฝ่รู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะถึงเทคโนโลยีจะดีเลิศเพียงใดแต่ขาดหัวใจของการจัดการความรู้เทคโนโลยีนั้นก็ไม่มีความหมาย